ขยะพลาสติกล้นโลก หนึ่งในปัญหาที่คนทั้งโลกต้องร่วมกันแก้ไข ซึ่งผู้ผลิตสินค้าสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการหยุดขยะพลาสติกได้ โดยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างหลอดอลูมิเนียม แทนหลอดพลาสติก
ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร
เราทุกคนรู้กันดีว่าทุกวันนี้เราอยู่ในภาวะขยะพลาสติกล้นโลก ท้องทะเลของเราเต็มไปด้วยถุงพลาสติก ไมโครพลาสติก และขยะอื่น ๆ อีกมากมายที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และคงอยู่ในท้องทะเลไปอีกเป็นร้อยเป็นพันปี
เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว (ปี 2020) ได้มีการทำความสะอาดท้องทะเลครั้งใหญ่ เพื่อเก็บกวาดขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งในท้องทะเล และพบสถิติที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
- ประเทศไทยติดอันดับ 7 ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุด (อันดับ 1 คือ จีน)
- กว่า 100 ล้านชีวิตของสัตว์น้ำต้องตายเพราะขยะพลาสติก
- 100,000 ชีวิตของสัตว์น้ำ ถูกพลาสติกพันหรือห่อหุ้มจนขาดอากาศหายใจ
- สัตว์น้ำ นก และสัตว์อื่น ๆ จำนวนมากที่คิดว่าพลาสติกคืออาหาร โดยเต่าทะเลมักคิดว่าถุงพลาสติกคือแมงกะพรุน อาหารที่มันโปรดปราน
- การจัดการขยะพลาสติกปัจจุบันมีเพียง 9% เท่านั้นที่ถูกนำกลับไปรีไซเคิล อีก 79% ใช้วิธีฝังกลบหรือถูกทิ้งในมหาสมุทร
ขยะพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 500-1000 ปี เรียกว่าหากว่าเราผลิตพลาสติกได้ตั้งแต่กรุงสุโขทัย ทุกวันนี้เราก็อาจจะขุดพบขวดพลาสติกที่มีสภาพเกือบจะสมบูรณ์
เราจะหยุดวิกฤตขยะพลาสติกได้อย่างไร
นักสิ่งแวดล้อมหลายคนพยายามที่จะชูประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และพยายามหาแนวร่วมในการหยุดการใช้พลาสติกที่ใช้เวลาย่อยสลายนานเป็นพันปี และเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ รวมถึงสามารถนำกลับมารีไซเคิลผลิตใหม่ได้ 100%
แล้วพวกเราสามารถช่วยหยุดการสร้างขยะพลาสติกได้อย่างไร?
- หยุดการใช้พลาสติกแบบ Single Used คือ พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยมากมักจะเป็นบรรจุภัณฑ์ หีบห่อต่าง ๆ เช่น แก้วน้ำ ขวดน้ำ กล่องอาหาร และยิ่ง Food Delivery เติบโตมากขึ้นเท่าไร ขยะใช้ครั้งเดียวทิ้งก็มีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยหากต้องใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง ให้เลือกใช้วัสดุอื่นจะดีที่สุด
- ใช้วัสดุที่ยั่งยืน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษชานอ้อยหรือจากใบไม้
- ใช้ Eco Friendly Material คือ วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% มีความคงทน สามารถนำไปใช้งานได้อย่างคุ้มค่า ไม่ใช่วัสดุที่ใช้แล้วหมดไป และใช้พลังงานในการผลิตต่ำ เช่น แก้ว อลูมิเนียม โลหะ เหล็ก ไม้ไผ่
เราทุกคนสามารถช่วยกันหยุดปัญหาขยะพลาสติกล้นโลกได้ นอกจากการช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง มาใช้แก้วส่วนตัว หรือพกกล่องอาหารแล้ว เรายังสามารถสนับสนุนการลดขยะพลาสติกทางอ้อม ด้วยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100%
สำหรับผู้ประกอบการก็เป็นส่วนสำคัญในการหยุดปัญหาขยะพลาสติก ด้วยการสำหรับผู้ประกอบการก็เป็นส่วนสำคัญในการหยุดปัญหาขยะพลาสติก ด้วยการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากจะช่วยโลก ช่วยสิ่งแวดล้อม ยังส่งเสริมภาพลักษณ์ของการเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างหลอดอลูมิเนียม
สำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตสกินแคร์ ยาสีฟัน ยา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ และใช้หลอดพลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์อยู่ หากต้องการที่จะสร้างแบรนด์ให้เป็นแบรนด์ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม เราขอแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้หลอดอลูมิเนียมแทน ซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่หรูหรา และยังช่วยรักษาสภาพสินค้าให้คงทน โดยช่วยเก็บกลิ่นและอากาศไม่ให้ผ่านเข้าออกและป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชันอีกด้วย โดยหลอดพลาสติกมีคุณสมบัติเด่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้
- สามารถรีไซเคิลได้ 100% เมื่อทำความสะอาดหลอดแล้ว สามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ 100% โดยที่ไม่มีการสูญเสียวัสดุ อลูมิเนียมจึงเป็นโลหะที่ยั่งยืน
- ดีต่อสิ่งแวดล้อม ไม่กลายเป็นไมโครพลาสติก พลาสติกบางชนิดแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ และปะปนอยู่กับธรรมชาติเป็นไมโครพลาสติก จากนั้นปลาและสัตว์ต่าง ๆ ก็จะกินเข้าไป และสุดท้าย เราที่กินปลาและสัตว์ต่าง ๆ เป็นอาหารก็จะได้รับไมโครพลาสติกไปด้วยเช่นกัน
- สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ภายใน 60 วัน หากมีการแยกขยะอลูมิเนียมทิ้งอย่างถูกต้อง ขยะอลูมิเนียมจะถูกนำไปทำความสะอาด เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และนำกลับมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ได้ใหม่อีกครั้งภายใน 60 วันเท่านั้น ถือว่าเป็นกระบวนการรีไซเคิลที่รวดเร็วมากทีเดียว
- ประหยัดพลังงาน 90-95% เมื่อเทียบระหว่างการนำหลอดอลูมิเนียมมารีไซเคิลกับการผลิตจากแร่อลูมิเนียม
หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจ อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม และหยุดปัญหาขยะพลาสติก เรามีหลอดอลูมิเนียมให้เลือกหลากหลายรูปแบบและขนาด สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 06-4439-1569, 0-2103-4624 หรือไลน์: @ati.th
ข้อมูลอ้างอิง
- สถิติขยะในทะเลทั่วโลก 2022 มลพิษทางทะเลอยู่ใกล้แค่เอื้อม. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 จาก springnews.co.th